fbpixel

หัวใจนักปราชญ์ ฟัง คิด ถาม เขียน เป็นเซียนได้ไม่ยาก

0

หัวใจของคนเก่งนำสู่การ ฟัง คิด ถาม เขียน อย่างคนมีปัญญา อัจฉริยะที่สร้างได้ จากการได้ใช้ศิลปะในการฟังที่ได้ดีมีประสิทธิภาพ สร้างความคิดจากร้อยแปดวิธีที่มีอยู่ในเล่ม

120.00 บาท

-20 %

150.00

จำนวนหน้า
177
ประเภทไฟล์
PDF
เผยแพร่เมื่อ
18 ธ.ค. 2023
ราคาปก
150
ประหยัด 30.00 บาท
ISBN
9786163442000

ขณะนี้ปิ่นโตไม่รองรับการอ่านบนเว็บไซต์

อ่านอีบุ๊กที่ซื้อแล้วได้บนแอปปิ่นโตเท่านั้น

เรื่องย่อ

สำนักพิมพ์ : เพชรประกาย, ราคาปก : 150 บาท

คําแปลของคําว่า พหูสูต ผู้รู้ ผู้รอบรู้ ปราชญ์-ผู้สดับตรับฟังมาก ผู้ศึกษา เล่าเรียนมาก-ตัวอย่างประโยคความเป็นผู้ได้เรียนรู้ได้สดับตรับฟังมามากจนได้ ชื่อว่า “พหูสูต” เป็นมงคลสูงสุด กล่าวคือ เป็นคุณธรรมนําตนไปสู่ความเจริญ รุ่งเรืองและสันติสุขในชีวิต ความหมายของบัณฑิตกับพหูสูตและนักปราชญ์ โดย ย่อก็คือบัณฑิต คือผู้ที่มีคุณธรรมประจําใจ มีความประพฤติดีงาม พหูสูต คือผู้มี ความรู้มาก ส่วนคุณธรรมความประพฤติยังไม่แน่ว่าจะดีหรือไม่ นักปราชญ์คือฟัง อะไรฟังให้หมด จดให้มาก ปากต้องใช้ ใจต้องคิด จึงจะเป็นบัณฑิต (นักปราชญ์) ที่แท้จริง (พนพ เกษามา)

ถ้าหากมีคําถามว่า หู-หัว-ปาก-มือ อวัยวะสําคัญสี่ประการนี้อะไรสําคัญ กว่า ในอดีตสิ่งที่มักจะเป็นคู่ปรับกันก็คือหูมีหน้าที่ฟัง กับปากที่มีหน้าที่พูด โดย กล่าวว่าหูมีสองหูแต่ปากมีเพียงหนึ่งปาก แล้วก็สรุปว่าให้ฟังมากว่าพูด ไม่ใช่พูด มากกว่าการฟัง อวัยวะที่เหลือคู่ต่อมาก็คือหัวที่มีหน้าที่คิด นอกจากเสริมความ สวยหรือความหล่อเหลา กับมือที่มีหน้าที่ใช้หยิบจับหรือใช้สอยมากมายนอกเหนือ จากการเขียน แล้วมาสรุปที่คําสองคําง่ายๆ ว่า คิดแล้ว ต้องทํา จึงจะประสบความ สําเร็จเพราะถ้าหากคิดแล้วไม่ทําก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย ดังนั้นเราจะมาเรียง ลําดับกับหน้าที่สี่ประการของสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นก็คือ การฟัง-การคิด การพูด และการลงมือทําช่วยนําไปสู่ความสําเร็จได้ หากจะกล่าวให้สลับซับซ้อนขึ้นไปก็

กล่าวได้ว่าคาถาของนักปราชญ์นั้นก็คือ สุ จิ ปุ ลิ ซึ่งสุ ย่อมาจากสุตต คือ การ ฟัง จิ ย่อมาจากจินตนคือการคิด ปุ ย่อมาจากปุจฉา คือการถาม ลี ย่อมาจาก ลิขิตคือ การเขียน

เรื่องของพูดการฟังก็มีสํานวนไทยที่เตือนสติ ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการพูดและ การฟังหลายสํานวน เช่น ฟังหูไว้หู, พกหินดีกว่าพกรุ่น, พกหินเป็นคุณ พกนุ่นถอย ศรี หมายถึงให้หนักแน่น ไม่ให้เชื่อไปตามที่ได้ฟังโดยไม่ไตร่ตรอง ปากปราศรัย น้ําใจเชือดคอ, ปากหวานก้นเปรี้ยว, ปากไม่ตรงกับใจ, ปากว่าตาขยิบ - หมาย ถึงให้ระมัดระวังคนที่ปากพูดอย่างหนึ่งแต่ใจอาจคิดอีกอย่างหนึ่ง ปลาหมอตาย เพราะปาก, พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตําลึงทอง - เป็นการเตือนให้ระมัดระวังคํา พูด ถ้าพูดไปแล้วไม่เป็นประโยชน์ก็นิ่งเสียดีกว่า ฟังไม่ศัพท์ จับมากระเดียด หมาย ถึงการฟังอะไรไม่เข้าใจ แล้วก็คิดเดาเอาเองผิดส่วนสํานวนท้องถิ่น ที่เกี่ยวกับการ พูดและการพัง เช่น กําฟูนักปราชญ์เหมือนดาบสองคม กําฟูคนโง่งมเหมือนลมปัด ยอดไม้ - หมายความว่า คนฉลาดสามารถใช้คําพูดเป็นอาวุธได้ ส่วนคนโง่พูดแล้ว ก็แล้วไป เหมือนลมพัดผ่านยอดไม้ ไม่มีความหมายอะไร สํานวนเกี่ยวกับการพูด และการฟังเหล่านี้เป็นการเตือนสติให้รู้จักฟังอย่างมีวิจารณญาณ ไม่หลงเชื่อง่าย ส่วนในด้านการพูดก็เตือนให้ระมัดระวัง คิดก่อนพูด และรับผิดชอบในสิ่งที่พูด

การคิดเมื่อเอ่ยถึงคําว่า “คิด” แล้ว สามารถเชื่อมไปแล้วได้คําซึ่งอื่นๆ ทั้ง ระดับคําธรรมดาทั่วไปและคําที่ใช้ในทางวิชาการได้อย่างมากมายซึ่งมีความหมาย แตกต่างกันไป เช่น คิดสั้น คิดมาก คิดถึง คิดเรื่อยๆ คิดแปลกๆ คิดแผลงๆ คิดบวก คิดลบ คิดแบบแกะดํา (ความคิดที่แตกต่าง พึ่งตนเอง เลิกที่จะเชื่อตามๆ กัน) คิด แบบเหตุผลหรือคิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบเพื่อนคิดแบบหมวก 6 ใบ (ที่อาศัย หลายบทบาทในการทํางานและดําเนินชีวิต) คิดแบบอริยสัจ คิดสืบสาวเหตุปัจจัย คิดแบบคนรวย คิดหาเรื่องหาราว คิดแบบเส้นขนาน (คิดหลายเรื่องแต่ละเรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน) คิดให้หมดสมอง คําที่ใกล้เคียง คล้ายทํานอง คิดให้หมดสมองก็ มีหลายคําเช่น ย้ําคิดย้ําทํา คิดบ่อยๆ คิดคิดคิด คิดแล้วคิดอีก คิดทางเดียว (คิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง) การคิดแบบวิเคราะห์ แยกแยะ) การคิดแบบสังเคราะห์ (สร้างสิ่งใหม่) การคิดที่มีอิสระ การคิดที่ถูกควบคุม ความคิดรวบยอดฯลฯ การถามก็อาจจะประกอบด้วยคําถามต่างๆ เหล่านี้ มีวิธีการอะไรบ้างที่ ง่ายกว่าวิธีนี้ไหม มีวิธีการอะไรบ้างที่รวดเร็วไปกว่านี้ไหมมีวิธีการอะไรบ้างที่ได้ ประสิทธิภาพกว่านี้ไหม มีวิธีการอะไรบ้างที่มีค่าใช้จ่ายต่ําหรือถูกกว่านี้ไหม มีวิธีการอะไรบ้างที่สะดวกหรือปลอดภัยกว่านี้ไหม มีวิธีการอะไรบ้างที่จะทําให้ลดต้นทุนได้บ้างไหม มีวิธีการอะไรบ้างที่จะช่วยเพิ่มผลงานหรือผลผลิตได้อีก มีวิธีการอะไรบ้างที่จะช่วยเสริมสร้างทรัพย์สินให้เพิ่มพูน

สําหรับการเขียนนั้นมีสาระเรื่องราวเกี่ยวกับการเขียนนั้นมากมาย นับ ตั้งแต่สมัยเรียนในชั้นอนุบาลหรือชั้นประถมการศึกษาก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น การ เขียนเพื่อการบันทึก เล่าเรียน การศึกษาจดหมายในรูปแบบต่างๆ เอกสาร วารสาร นิตยสาร สารคดี เรื่องสั้น นวนิยาย นิทาน คําคม คํากลอน หนังสือ ตําราวิชาการ หรือจะเป็นลักษณะของคําประพันธ์ไทยอันได้แก่ ฉันทลักษณ์ ของโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต กลบท ฯลฯ พร้อมทั้งข้อบังคับ ข้อ ห้าม และกลวิธีการแต่งทั้งหลาย ที่จะต้องค้นหา ศึกษาไว้ให้รอบรู้ ฯลฯ

คําว่า สุ จิ ปุ ลิ นั้นก็คือหัวใจของนักปราชญ์ ความหมายนักปราชญ์ ผู้ที่ มีความรู้สูง, ผู้มีความรู้ในเรื่องต่างๆ มากมาย บัณฑิต-ชายที่มีความรู้มากและ ลึกซึ้ง, นักปราชญ์, เมธี, ผู้คงแก่เรียน คนที่ฉลาด, นักปราชญ์ บัณฑิต, แพทย์, ผู้ปกครอง, ข้าหลวง, ผู้พิพากษา-คนที่เคราสีขาว, คนแก่, นักปราชญ์, เนื้อหาสาระของหนังสือในเล่มนี้จะทําให้ท่านสามารถเลือกที่จะเป็นได้ดังเช่น พหูสูตนักปราชญ์บัณฑิต โดยใช้เนื้อหาสาระจากหนังสือเล่มนี้มาศึกษาหาความรู้แล้ว ประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อสร้างให้ชีวิตไปสู่ประตูของความสําเร็จในการลิขิตชีวิตของท่านเองได้ไม่ใช่เรื่องที่ลําบากยากเย็นแต่ประการใด

ดูหนังสือเรื่องอื่นๆ ของเรา ได้ที่ www.phetpraguy.com

รีวิว

ทั้งหมด : 0

0
ยังไม่มีรีวิว